การสื่อสาร
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนารการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่างๆ
เทคนิคการนำเสนอ
แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานโฆษณา
ในการสร้างสรรค์งานโฆษณาให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงคืนั้นต้องขึ้นอยู่กับ
1. การวางกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์งานโฆษณา
2. การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในโฆษณา
3. การสร้างสรรค์งานให้โดดเด่นมีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม
แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานโฆษณา
การนำเสนอความคิดสร้งสรรค์ในโฆษณา Creative Execution
Execution หมายถึง การใส่เนื้อหาลงในงานโฆษณา เป็นการนำเสนอภาพ คำพูดและองค์ประกอบอื่น ๆ ของการสร้งสรรค์ Creative Mix มาผสมผสานกันอย่างมีประสิทธิภาพกับศิลปะและสุนทรี เพื่อให้เกิดการสื่อข้อความที่มีปรสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.องค์ประกอบของการสร้างสรรค์งานโฆษณา
2.รูปแบบการนำเสนอภาพโฆษณา
องค์ประกอบของการสร้างสรรค์งานโฆษณา คือ
เพื่อให้งานโฆษณาสามารถบรรลุแนวปราการของขั้นตอนการเลือกการรับรู้ Selective Perception ของผู้บริโภคได้นั้น นอกจากยุทธวิธีในการโฆษณาถูกวางให้เป็นแนวทางแล้ว ทั้งด้านแนวคิด Concept ลีลา Tone จุดเว้าวอน Apeal จุด Selling Point ตลอดจนแนวทางการนำเสนอ
1. ส่วนของคำพูดวัจนภาษา คือถ้อยคำในการส่งสารไปสู่เป้าหมาย ได้แก่ 1. พาดหัวหลัก
2. พาดหัวรอง
3. ข้อความโฆษณา
4. คำบรรยายใต้ภาพ
5. สโลแกน
6. บรรทัดท้าย
7. ชื่อตราสินค้า
2. ส่วนที่ไม่เป็นคำพูด อวัจนภาษา
ได้แก่ 1. ภาพปรกอบ ไม่ต้องมีคำพูด อาจมีภาพสินค้า ภาพที่อธิบายความคิดหรือไม่ต้องมีสินค้าก็ได้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ภาพถ่าย ภาพลายเส้น และภาพลายเส้นและภาพถ่ายรวมกันโดยการสร้างเรื่องราวได้ดี
2. การจัดภาพที่ดี มีความสมดุลมีจุดเด่น มีสัดส่วนที่ดี มีที่ว่างที่เหมาะสม
3. โลโก้ การแสดงเอกลักษณ์ของสินค้าเป็นภาพลายเส้น
4. ขนาดสัดส่วน ความเด่น ความแรง เป็นภาพลายเส้น
5. สี อาจจะใช้สีที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ ก็จะใช้น้อยแล้วแต่โฆษณา
6. การใช้ตัวอักษร สามารถให้อารมณ์และบุคลิกกับตัวสินค้าได้เหมือนกัน
ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง
2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น